ก๊าซธรรมชาติคืออะไร ตอนที่ 3 What is Natural Gas 3
ก๊าซปิโตเลียมเหลว กับ ก๊าซหุงต้ม ( LPG )
ก๊าซหุงต้ม มีชื่อเป็นทางการว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลว ( liquefied petroleum gas : LPG ) หรือเรียกย่อๆ ว่า แอลพีจี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันหรือการแยกก๊าซธรรมชาติ ในโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวประกอบด้วยส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน 2 ชนิด คือ โพรเพนและบิวเทน ในอัตราส่วนเท่าใดก็ได้ หรืออาจจะเป็นโพรเพนบริสุทธิ์ 100% หรือบิวเทนบริสุทธิ์ 100% ก็ได้ สำหรับในประเทศไทยก๊าซหุงต้มส่วนใหญ่ได้จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติโดยใช้อัตราส่วนผสมของโพรเพน และบิวเทนประมาณ 70:30 ซึ่งจะให้ค่าความร้อนที่สูง ทำให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาและค่าเชื้อเพลิง
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ในครัวเรือน ในโรงงานอุตสาหกรรม และในยานพาหนะได้ เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ในโรงงานอุตสาหกรรม และในยานพาหนะ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้งานในครัวเรือนโดยตรง ด้วยคุณสมบัติในการเป็นเชื้อเพลิงติดไฟของก๊าซธรรมชาติและก๊าซหุงต้ม เพื่อความปลอดภัย ผู้ใช้ต้องใส่ใจในการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในการใช้งานอย่างเคร่งครัด
คุณสมบัติทั่วไปของ LPG
• เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซโพรเทนและนิวเทน เป็นหลัก
• ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ปราศจากพิษ ( แต่โดยทั่วไปจะเติมสารเคมีเพื่อความปลอดภัย )
• หนักกว่าอากาศ
• ติดไฟได้ในช่วงของการติดไฟที่ 2–15 % ของปริมาณในอากาศ และอุณหภูมิที่ติดไฟได้เองคือ 400 c องศา
คุณประโยชน์ของก๊าซ LPG
• เป็นเชื้อเพลิงที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมีการเผาไหม้สมบูรณ์
• ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะไอกรีน
• มีราคาถูก 9.5 ( 05/08/48 )
• ก๊าซอยู่ในสภาพแรงดันต่ำ 180 psi
• อัตราการสิ้นเปลืองก๊าซเทียบเท่ากับการใช้น้ำมันเบนซิน
• อุปกรณ์มีราคาถูกกว่าอุปกรณ์ก๊าซ NGV
ข้อเปรียบเทียบ
|
ก๊าซธรรมชาติ
|
ก๊าซหุงต้ม (LPG)
|
ความปลอดภัย
|
มีความปลอดภัยสูงเนื่องจาก เบากว่าอากาศเมื่อเกิดการรั่วไหล จะลอย ขึ้นสู่อากาศทันที
|
เนื่องจากหนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายอยู่ตามพื้นราบ
|
ความพร้อมในการนำมาใช้งาน
|
สถานะเป็นก๊าซนำไปใช้ได้เลย
|
สถานะเป็นของเหลว ต้องทำให้เป็นก๊าซ ก่อนนำไปใช้งาน
|
ประสิทธิภาพการเผาไหม้
|
เผาไหม้ได้สมบูรณ์
|
เผาไหม้ได้สมบูรณ์
|
คุณลักษณะของเชื้อเพลิง
|
ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเผาไหม้
ปราศจากเขม่าและกำมะถัน |
ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่โดยทั่วไป
จะเติมสารเคมีเพื่อความปลอดภัย |
จำนวนสถานีบริการ
|
36 แห่ง ( กค 48)
|
กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ
|
1. ระบบความปลอดภัย ความปลอดภัยของระบบเชื้อเพลิงก๊าซ ( LPG SAFETY ADVICE )
ระบบ LPG ซึ่งผลิตโดย BRC ได้ถูกออกแบบตามมาตรฐานที่ให้ความปลอดภัยสูง ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE 67 ซึ่งทำให้รถของท่านมีความปลอดภัยสูง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
• กรณีที่สงสัย หรือพบว่ามีการรั่วไหลของแก๊ส ควรปฏิบัติดังนี้
1.ดับเครื่องยนต์ และเคลื่อนย้ายไปที่อากาศถ่ายเท
2.ปิดวาล์วทันทีเมื่อพบแก๊สรั่ว (มีกลิ่นเหม็น) หรือ ได้ยินเสียงรั่วซึม
3.หยุดการกระทำที่อาจเกิดประกายไฟ ตรวจหาจุดรั่วซึมและแก้ไขจนกว่ามีการรั่วซึม
4.หากทำการแก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้ทำการสับสวิทช์มาใช้เบนซินและนำรถมาซ่อมที่ศูนย์ติดตั้ง
2. การซ่อมบำรุงการปรับเปลี่ยน (CONVERSION MAINTENANCE)
อุปกรณ์เสริมเพื่อใช้เชื้อเพลิงแก๊ส LPG ในรถของท่าน ต้องการการซ่อมบำรุงเพียงเล็ก น้อยเท่านั้น คำแนะนำนี้จะช่วยให้รถของท่านทำงานด้วยสมรรถนะที่ดีที่สุด
ตารางการดูแลและบำรุงรักษาที่ควรทำเป็นประจำ
(REGULAR MAINTENANCE)
(REGULAR MAINTENANCE)
ชิ้นส่วนอุปกรณ์
|
ระยะเวลา
|
- รักษาระบบการจุดระเบิด
(IGNITION SYSTEM) |
ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ( ดูตารางการซ่อมบำรุงจาก คู่มือการใช้รถของท่าน) |
- เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
|
ตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
|
- เปลี่ยนกรองอากาศ
|
ทุก 20,000- 30,000 กิโลเมตร
หรือตามความจำเป็น |
- ทำความสะอาดกรองอากาศ
|
ทุก ๆ อาทิตย์
|
- เปลี่ยนกรองก๊าซ
LPG |
ทุก 40,000 กิโลเมตร หรือทุก 1 ปี
|
- เปลี่ยนหัวเทียน
|
ทุก ๆ 30,000 กิโลเมตร
|
- ตรวจสอบข้อต่อและอุปกรณ์
LPG (ยกเว้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า) |
ด้วยน้ำสบู่ทุก ๆ เดือน
|
- ทำการใช้ระบบเชื้อเพลิง
|
อย่างน้อย 10 กิโลเมตร/วัน
|
- ตรวจสอบตั้งค่าการทำงานในระบบเชื้อเพลิงLPG
|
เมื่อมีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ใหม่
|
-การตรวจสอบถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
|
อายุไม่เกิน 10 ปี
( ไม่ต้องตรวจและทดสอบ ) อายุเกิน 10 ปี ( ต้องตรวจและทดสอบทุก 5 ปี ) |