เรื่องน่ารู้ของเกียร์อัตโนมัติ ตอนที่ 1
Automatic transmission 1
เรื่องน่ารู้ของเกียร์อัตโนมัติ
ก่อนอื่นก็มาทีความรู้จักกับเกียร์อัตโนมัติกันซะก่อนเพราะยังมีอีกหลายท่านที่เคยแต่เพียง“เห็น”ยังไม่เคยทำความคุ้นเคยหรือสัมผัสกันอย่างจริงจังเสียทีแบบนั้นจัดว่ารู้จักว่าเป็นเกียร์อัตโนมัติเฉย ๆ แต่ยังไม่รู้จักอย่างลึกซึ้งก่อนที่จะขับก็ควรมาศึกษารายละเอียดกันก่อนหลายคนอาจจะคิดว่าไม่จำเป็นก็ในเมื่อเขาทำมาให้ขับง่ายสะดวกสบายแล้วทำไมต้องมีการศึกษาอะไรอีกก็เป็นเพียงความเข้าใจที่ถูกต้องเพียงบางส่วนที่คิดว่าเพียงแต่ขยับตำแหน่งคันเกียร์มาที่ตัว D แล้วก็เหยียบคันเร่งเท่านั้นก็ขับรถไปไหน ๆ ได้แล้วผู้ที่ขับขี่เป็นแต่ในลักษณะนี้ล่ะครับที่จัดอยู่ในขั้นที่น่าเป็นห่วงเพราะจะมีอันตรายตามมาอีกหลายอย่าง เช่นการขับรถในสภาพทางที่เป็นภูเขาสูงหรือที่เคยมีข่าวรถวิ่งไปทับเจ้าของจนตายตอนเปิดประตูบ้านก็เข้าข่ายที่“รู้..แต่ยังรู้ไม่หมด”นั่นเอง
หลักการทำงานแบบย่อ ๆของเกียร์อัตโนมัติ ก็คือเกียร์ที่ผลิตมาให้ขับรถได้ง่ายสะดวกสบายขึ้น คือรถจะมีการเปลี่ยนเกียร์ของมันเองตอนเดินหน้าด้วยการขยับเข้าเกียร์เพียงครั้งเดียวและไม่ต้องเหยียบคลัทซ์เพราะไม่มีให้เหยียบการขับขึ่จึงใช้เพียงเท้าขวาเพียงข้างเดียวใช้เหยียบคันเร่งกับเบรคเท่านั้นส่วนเท้าซ้ายไม่ต้องใช้ที่เป็นเช่นนี้เพราะการออกแบบระบบการทำงานของเกียร์อัตโนมัติที่แตกต่างจากเกียร์ธรรมดาโดยชุดคลัทซ์ได้เปลี่ยนมาใช้ตัว“ทอร์คคอนเวอร์เตอร์”ช่วยในการตัดต่อการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปที่เกียร์แทนซึ่งเท่ากับเป็นคลัทซ์อัตโนมัติที่เราไม่ต้องเหยียบเพราะมันจะทำการจับตัวของมันเองตามรอบเครื่องที่เพิ่มขึ้นโดยใช้ของเหลวเป็นตัวส่งกำลังด้วยความหนืด
หลักการก็เหมือนกับมีพัดลม 2 อันอันหนึ่งเปิดไว้เอามาเป่าให้อีกอันหนึ่งหมุนตามทำให้เกิดการส่งกำลังได้ทำให้สามารถเข้าเกียร์ได้โดยเครื่องไม่ดับขณะเครื่องเดินเบาและรถจอดนิ่งเหยียบเบรคไว้ส่วนระบบเกียร์เมื่อเข้าเกียร์ให้รถขับเคลื่อนไปแล้วการทำงานจะเป็นไปโดยอัตโนมัติคือการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์จะมีการตั้งโปรแกรมการทำงานให้เหมาะสมกับความเร็วรอบของเครื่องยนต์เหมือนตอนที่เราเข้าเกียร์ด้วยความรู้สึกของเรา แต่ในเกียร์อัตโนมัติใช้กลไกต่างๆมาทำงานแทนโดยแต่เดิมจะมีแต่ระบบกลไกโดยใช้แรงดันในระบบน้ำมันเกียร์ซึ่งมีปั๊มสร้างแรงดันเช่นเดียวกับระบบไฮดรอลิกซึ่งแรงดันที่เพิ่มขึ้นตามความเร็วรอบเครื่องยนต์จะถูกนำมาใช้ในการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ภายในเกียร์อัตโนมัติจะใช้เกียร์แบบเพลนเนตทารี่เกียร์ซึ่งเป็นชุดเกียร์ที่ออกแบบให้เฟืองของเพลาขับทดอยู่กับเฟืองของเพลาตามภายในเฟืองวงแหวนทำให้สามารถเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ได้ง่ายเพียงแต่ล็อกเฟืองชุดใดชุดหนึ่งด้วยการจับตัวของแผ่นคลัทซ์แบบเปียกซ้อนกันหลายๆแฟ่นทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ทำได้นุ่มนวลเมื่อทำงานร่วมกับทอร์คคอนเวอร์เตอร์ยิ่งมาในยุคที่มีระบบอิเล็คทรอนิคส์เข้ามาช่วยในการทำงานทำให้เกียร์อัตโนมัติมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นมากโดยเฉพาะจังหวะการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ที่ทำได้นุ่มนวลจนแทบไม่รู้สึกและจังหวะการทำงานต่างๆที่ฉับไวยิ่งขึ้น
No comments:
Post a Comment