Sunday 24 November 2013

การขับรถขึ้น-ลงเขา ตอนที่ 1 Driving up - downhill 1

การขับรถขึ้น-ลงเขา ตอนที่ 1 Driving up - downhill 1

อันนี้เนื่องจากเคยมีบางท่านที่ตั้งกระทู้ถามมาในหน้าชมรมคนรักรถครับซึ่งผมก็เห็นว่ามันมีประโยชน์ดีทีเดียวที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง สำหรับท่านที่ใช้รถที่มีสมรรถนะสูงคันโตๆหรือท่านที่ขึ้น-ลงเขาเป็นประจำก็คงไม่มีปัญหาเท่าไหร่กับเรื่องพวกนี้ แต่สำหรับท่านที่ใช้รถขนาดเล็กหรือรถราคาประหยัดหรือท่านที่นานๆครั้งจะใช้เส้นทางดังกล่าวหรือเดินทางไกลครั้งแรกโดยไม่เคยใช้เส้นทางดังกล่าวเลยก็อาจจะประสบปัญหาได้ครับ

การเตรียมตัว

ก็คงเป็นพื้นฐานทั่วๆไปตามปกติคือ


1.    ศึกษาเส้นทางให้ดีอาจจะทั้งจากแผนที่หรือสอบถามจากท่านที่เคยเดินทางผ่านเส้นทางนั้นๆมาแล้ว

2.    เตรียมรถให้พร้อม สภาพของยางต้องอยู่ในสภาพดีดอกยางต้องไม่แข็งหรือโล้น เติมลมยางให้ตรงตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดมารวมทั้งยางสำรองด้วยควรเติมมากกว่าปกติราว 5ปอด์น เช็คหรือเปลี่ยนน้ำมันเบรคให้ระดับอยู่ตามกำหนดหรือเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเบรคที่เกรดสูงขึ้นเช่นจากปกติใช้ด็อท3อยู่อาจจะเปลี่ยนไปใช้ด็อท 4ที่ทนอุณหภูมิได้สูงกว่าเป็นต้น นำรถเข้าปรับตั้วศูนย์หรือถ่วงล้อในกรณีที่รถอาจจะมีอาการผิดปกติเรื่องการควบคุม

3.    ในกรณีที่รถอายุงานมากๆแล้วควรจะเตรียมอุปกรณ์พวกหมอนหนุนล้อขนาดพอเหมาะใส่ท้ายรถไปด้วยเผื่อจำเป็นต้องใช้ถ้าเกิดรถไปเสียกลางภูเขา

4.    ตรวจสภาพความพร้อมของรถโดยทั่วไปเช่นน้ำหม้อน้ำ ระดับน้ำมันเครื่อง น้ำฉีดกระจก ระบบไฟทั้งหมดมั่นใจว่าทำงานถูกต้องและอาจจะมีการเตรียมอะไหล่ที่จำเป็นหรือที่เป็นจุดอ่อนที่เคยเสียไปด้วยเช่นฟิวส์ขนาดต่างๆเป็นต้น

5.    เตรียมตัวให้พร้อมพักผ่อนให้เพียงพอหรือออกกำลังเป็นประจำก่อนเดินทางอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1สัปดาห์อย่าลืมว่ากว่าเราจะเดินทางไปถึงจุดดังกล่าวต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงถ้าร่างกายไม่พร้อมซ้ำต้องเจองานหนักขึ้นก็อาจจะมีอารมณ์หงุดหงิดและเสียการควบคุมรถได้ง่ายๆครับ

การเดินทางขึ้นเขา


1.    ก่อนถึงจุดที่จะต้องขึ้นเขาเราอาจจะต้องหยุดรถเพื่อพักรถให้น้ำมันต่างๆและน้ำหล่อเย็น-เครื่องยนต์เย็นตัวลงและเพื่อความพร้อมของคนขับเองเนื่องจากอาจจะอ่อนล้ามาแล้วจากการเดินทางมานานพอสมควร พักนานเท่าที่เวลาจะเอื้ออำนวยแต่น้อยที่สุดไม่ควรต่ำกว่า 20นาที

2.    เลือกใช้เกียร์ที่เหมาะสมกับระดับความเร็วและความชันความโค้งของเขาที่ไต่ขึ้น คอยสังเกตุป้ายระบุให้ใช้เกียร์ต่ำและกำหนดความเร็วที่ปลอดภัยที่ข้างทางอยู่เสมอถ้าไม่รีบร้อนหรือเพื่อให้ปลอดภัยที่สุดควรใช้ความเร็วตามที่ป้ายระบุหรือบวกไม่เกิน 10 เช่นป้ายแจ้งว่าโค้งอันตรายควรใช้ความเร็วไม่เกิน 40 ก็ควรปฎิบัติตามโดยการลดความเร็วลงมาให้ต่ำกว่า 50 เพราะป้ายที่เขาทำขึ้นมานั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ว่ายานยนต์ชนิดใดๆที่ใช้ความเร็วไม่เกินความเร็วดังกล่าวโอกาสเกิดอุบัติเหตุคือศูนย์ครับ ส่วนเกียร์ที่เหมาะสมในการขึ้นเขาคือเกียร์ที่สามารถรักษารวบเครื่องไว้ได้ระหว่าง 2800-3500รอบครับ ถ้ารอบเครื่องต่ำกว่า 2500รอบให้ลดเกียร์ต่ำลงโดยทันทีอย่ารอให้รอบตกมากกว่านั้นเพราะอาจจะทำให้เสียแรงส่งและอาาจะเกิดการลื่นไถลได้ ความเร็วที่เหมาะสมคือความเร็วที่เกียร์นั้นๆสามารถทำให้รถวิ่งได้ที่รอบเครื่อง 2500-3500รอบครับพยามอย่าให้รอบเครื่องสูงเกิน 3500รอบไปโดยการแช่ครับถ้าเกิน 3500รอบไปสามารถที่จะเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นได้ครับแต่ถ้าเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นแล้วรอบตกและรถไม่มีแรงจนต้องลดเกียร์ลงมาอย่างเดิมก็แสดงว่านั้นคือเกียร์ที่เหมาะสมที่สุดและให้จดจำเกียร์นั้นไว้เพื่อใช้สำหรับการลงเขาด้วยครับ(สำหรับเกียร์ออโต้ก็ใช้รอบเป็นตัววัดโดยการใช้เกียร์ต่ำเช่น 3หรือ2หรือ1 และดูรอบเครื่องเช่นเดียวกันครับ การดูรอบนั้นคงต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นเช่นหูฟังแทนการมองดูก็ได้ครับสำหรับท่านที่อาจจะชำนาญแล้ว)

3.    ถ้าเกิดความอ่อนล้าหรือเกิดขาดความมั่นใจในขณะขับขี่จะพบว่าระหว่างทางมักจะมีจุดพักรถหรือจุดชมวิว ขอให้พักเถอะครับอย่าฝืนเสียเวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพื่อเรียกความสดชื่นและความมั่นใจกลับคืนมาก่อนอาจจะดื่มน้ำหรือกาแฟซักแก้วและทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดจนวางแผมแก้ไขไว้เช่นรถอาจจะเสียการควบคุมไปชั่วขณะและเกียร์ที่ใช้ก็เป็นเกียร์4ก็อาจเปลี่ยนแผนเป็นใช้แค่เกียร์3และใช้ความเร็วที่ช้าลง ซึ่งมันจะมีสติดีกว่าที่จะลุยต่อไปครับ

No comments:

Post a Comment