ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษารถยนต์เบื้องต้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน การดูแลรักษายางรถยนต์การเลือกยาง เรื่องแบตเตอร์รี่รถยนต์ การทำประกันภัยรถยนต์และอื่นๆ
Wednesday, 20 November 2013
การเลือกและใช้ยางรถยนต์ ตอนที่ 5 How to Selection of tires 5
การเลือกและใช้ยางรถยนต์ ตอนที่ 5
การเลือกและใช้ยางรถยนต์ ตอนที่ 5
ดอกยางสึกผิดปรกติ
ปกติแล้วยางทุกเส้นต้องมีการสึกหรอของดอกยางสม่ำเสมอ ตลอดหน้ายางซ้ายจรดขวาและรอบวง แต่อาจอนุโลมได้บ้างสำหรับรถยนต์ที่ใช้ช่วงล่างแบบอิ สระในล้อซ้าย-ขวา ไม่ได้เป็นเพลาตรงแท่งเดียวกัน หน้ายางด้านในอาจสึกหรอมากกว่าด้านนอกเพียงเล็กน้อย แต่ยังเรียบเป็นแนวตรงลูบมือผ่านโดยไม่สะดุด เพราะในการขับช่วงล่างจะมีการยุบตัว ล้อเปลี่ยนมุมจากแนวตั้งฉากแบะ (มุมแคมเบอร์ลบ) ด้านล่างออก ด้านบนหุบเข้า น้ำหนักกดลงที่หน้ายางด้านในมากกว่าเล็กน้อย สำหรับรถยนต์ที่ใช้ช่วงล่างแบบอิสระในล้อซ้าย-ขวา และโหลดลดความสูงโดยไม่ได้ปรับให้ล้อตั้งฉากกับพื้น (หรือปรับไม่ได้) ล้อแบะ (มุมแคมเบอร์ลบ) หน้ายางด้านในจะสึกหรอมากกว่าด้านนอกมาก และใช้ยางได้ไม่คุ้ม ต้องสลับหน้ายางในออกนอกด้วยการถอดออกจากกระทะล้อทุก 10,000-20,000 กิโลเมตร นอกเหนือจากการสลับหน้า-หลัง หากยางรุ่นนั้นกำหนดทิศทางการหมุนต้องใส่ให้ถูกต้องห ากไม่ได้ลดความสูงของตัวรถยนต์ แล้วมุมล้อมีมุมแคบเบอร์ลบหรือบวกผิด ต้องปรับตั้งให้ได้มาตรฐานด้วยวิธีที่ถูกต้อง ถ้าหน้ายางมีการสึกหรอด้านใน-นอกไม่เท่ากันและเป็นบั้ง แสดงว่ามุมโทอิน-โทเอ๊าท์ผิดปกติ คือ มุมล้อที่เมื่อมองจากด้านบนแล้วล้อซ้าย-ขวาในแต่ละคู่ต้องขนานกัน หรือเกือบขนานกันตามมาตรฐาน มุมล้อโทอินมากเกินไป คือ มองจากด้านบนแล้วด้านหน้าของล้อซ้าย-ขวาหุบเข้าหากันมากเกินไป ดอกยางริมนอกจะสึกมากกว่าด้านในและเป็นบั้ง ลูบมือผ่านแล้วสะดุด มุมล้อโทเอ๊าท์มากเกินไป คือ มองจากด้านบนแล้วด้านหน้าของล้อซ้าย-ขวาอ้าออกจากกันมากเกินไป หรือด้านหลังของล้อซ้าย-ขวาหุบเข้าหากันมากเกินไป ดอกยางริมในจะสึกมากกว่าด้านในและเป็นบั้ง ลูบมือผ่านแล้วสะดุดถ้ามุมโทผิดปกติ ต้องนำไปตั้งศูนย์ล้อในค่าใช้จ่ายประมาณ 150-300 บาท เสียเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง และรถยนต์ทั่วไปมักกำหนดให้ต้องตั้งมุมล้อโทอินไว้บ้ าง คือ ล้อด้านหน้าหุบเข้าหากันเล็กน้อย เพื่อให้เวลารถยนต์แล่นมีแรงกระทำด้านหน้าแล้วมุมโทจ ะพอดี ถ้าตั้งโทเอ๊าท์มากเกินไป เมื่อรถยนต์แล่นล้อด้านหน้าจะยิ่งอ้าออก รถยนต์ทุกรุ่นมีการกำหนดค่ามาตรฐานของมุมล้อแตกต่างกันออกไป
ยางแตก
ปกติแล้วยางแบบเรเดียลไม่ใช้ยางใน จะแตกเองยากมาก และหากถูกของมีคมขนาดไม่ใหญ่ทิ่มแทง จะมีการรั่วของลมช้า และถ้าทิ่มค้างอยู่ ก็ยิ่งรั่วช้าลงอีกถ้ารถยนต์แล่นอยู่แล้วยางแตกกะทัน หัน หากค่อยๆ รั่วช้าๆ สัก 5-10 วินาที และใช้ความเร็วไม่สูงนัก รถยนต์จะไม่เสียการทรงตัวมาก แต่ถ้ารั่วเร็วต้องตั้งสติเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้ดี ไม่ว่ายางจะรั่วช้าหรือเร็ว อย่ากระแทกแป้นเบรกกะทันหัน บังคับพวงมาลัยให้มั่นคง เพราะจะมีแรงดึงผิดปกติ ต้องเบรกช้าๆ และเบาที่สุด ถ้ายางล้อหน้าแตกในรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง ยังพอใช้การลดเกียร์ต่ำช่วยได้บ้าง แต่ถ้าเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าให้ใช้เบรกเบาๆ เท่านั้น เพราะหากลดเกียร์ต่ำช่วย ล้อหน้าอาจมีการกระตุกจนเสียการทรงตัวหรือตัวรถยนต์ห มุนได้ เมื่อยางแตกแล้ว ต้องจอดหลบให้ปลอดภัย อย่าบดยางยาวต่อเนื่องไปอีก เพราะขอบกระทะล้อจะกดลงบนแก้มยางอย่างรุนแรง จนแก้มยางเสียและต้องทิ้งยางเส้นนั้นไปเลย ยางรถยนต์ในยุคใหม่มีโอกาสรั่วน้อยมาก ไม่น่าเกิน 1-2 ครั้ง/ปี ยางอะไหล่จึงมักไม่ค่อยได้รับความสนใจในการตรวจสอบทุ กสัปดาห์เหมือนยางเส้นปกติ จึงควรเติมลมยางอะไหล่ไว้มากหน่อย คือ 40 ปอนด์/ตารางนิ้ว และตรวจสอบทุกเดือน เมื่อต้องสลับมาใช้ยางอะไหล่ ถ้าแรงดันลมที่มีอยู่สูงเกินไปก็ปล่อยออกให้เท่าปกติ หรือยางอ่อนนิดหน่อยก็ควรขับต่อด้วยความเร็วต่ำ ดีกว่าบดยางเส้นที่แตกจนเสีย การเปลี่ยนยางที่รั่วสลับกับยางอะไหล่เป็นวิธีที่ถูก ต้องที่สุด แต่อาจไม่สะดวกในหลายกรณี เช่น การจราจรคับคั่ง พื้นที่เปลี่ยว หรือเป็นสุภาพสตรีโฟมสเปรย์อุดรอยรั่วของยางช่วยได้ ถ้ารอยรั่วไม่ใหญ่นัก กระป๋องละไม่กี่ร้อยบาท เติมให้หมดกระป๋อง ยางอาจจะอ่อนไปหน่อย แต่สามารถขับไปร้านปะยางหรือหลบจากพื้นที่คับขันได้ เมื่อถอดยางออกปะต้องล้างโฟมนั้นออกให้หมดไม่มีความจำเป็นต้องเติมโฟมอุดรอยรั่วไว้ล่วงหน้าทุกล้อ เพราะสิ้นเปลือง และอาจทำให้น้ำหนักของล้อและยางไม่สมดุล เกิดการสั่นของพวงมาลัยได้
ปะยาง 2 แบบ
การรั่วที่หน้ายางปะได้ 2 แบบ แต่การรั่วที่แก้มยางต้องทิ้งยางเส้นนั้นไป เพราะแก้มยางต้องมีการยืดหยุ่นตลอดการหมุนถ้ารอยรั่ว ไม่ใหญ่นักสามารถเลือกปะได้ 2 แบบ คือ สอดเส้นยางพิเศษที่เบ่งตัวจนแน่นเข้าไปได้โดยไม่ต้อง ถอดยางออกจากกระทะล้อ ใช้เวลาน้อย หรือปะแบบสตีมใช้ความร้อน ถอดยางออกจากกระทะล้อ ใช้แผ่นปะปิดจากด้านในแล้วอัดทับด้วยความร้อนสักพักใ หญ่ ซึ่งแน่นหนาทนทานกว่าการปะแบบแรก แต่จะทำให้เนื้อยางบริเวณนั้นแข็งกระด้างจากความร้อน สูง และต้องถ่วงสมดุลใหม่ เพราะยางถูกถอดออกจากกระทะล้อและมีน้ำหนักจากแผ่นปะเ พิ่ม หากรอยรั่วใหญ่ต้องปะแบบสตีมใช้ความร้อน
เมื่อไหร่ยางจะหมดสภาพ
ยางหมดอายุได้ใน 6 ลักษณะหลัก เช่น ดอกหมด, ไม่เกาะ, เนื้อแข็ง, โครงสร้างกระด้าง เสียงดัง หรือแก้มบวม เกิดขึ้นเพียงลักษณะเดียวหรือควบคู่กันก็ถือว่าหมดอา ยุ ไม่จำเป็นต้องดอกหมดแล้วยางถึงจะหมดสภาพเสมอไป เพราะความลึกของดอกยางเกี่ยวข้องกับการรีดน้ำ ฝุ่น และโคลนเป็นหลักเท่านั้น ประสิทธิภาพการเกาะถนนและการทรงตัวต้องขึ้นอยู่กับคว ามแข็งของเนื้อยาง การเก่าเก็บ และโครงสร้างภายในด้วยยางรถยนต์ส่วนใหญ่จะเริ่มแข็งต ัวขึ้นเมื่อผ่านการใช้งานไประยะหนึ่ง ตามพื้นฐานของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยางที่แพ้ความร้อนเน ื้อยางที่แข็ง แม้ดอกยังลึกอยู่ แรงเสียดทานระหว่างหน้ายางกับผิวถนนจะลดลง ดอกยางสึกช้าลง และโครงสร้างยางก็เสื่อมสภาพลง หากเปรียบเทียบอัตราการสึกของดอกยางต่อระยะทาง แทบไม่มียางรุ่นไหนที่ดอกสึกเร็วขึ้นเมื่อผ่านการใช้ งาน ส่วนใหญ่มักจะสึกช้าลงหรือแทบไม่สึกเลยเมื่อเนื้อยาง แข็งกระด้างเต็มที่ ทดสอบง่ายๆ โดยใช้เล็บจิกลงบนเนื้อของหน้ายาง เปรียบเทียบกับยางใหม่ๆหากดอกไม่หมดเฉลี่ยคร่าวๆ ว่า 3 ปี หรือไม่เกิน 35,000-50,000 กิโลเมตร ถือว่ายางเสื่อมสภาพแล้ว และควรหลีกเลี่ยงยางเก่าเก็บเพราะจะทำให้ระยะเวลาในก ารใช้ยางสั้นลงกว่า 3 ปี
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment