Tuesday, 19 November 2013

การเลือกและใช้ยางรถยนต์ ตอนที่ 4 How to Selection of tires 4



การเลือกและใช้ยางรถยนต์ ตอนที่ 4



การเลือกและใช้ยางรถยนต์ ตอนที่ 4

การดูและการใช้ยาง

วัดแรงดันลมให้ได้มาตรฐาน หากยางปกติ ไม่มีการรั่วซึม ตรวจแรงดันลมทุกสัปดาห์ก็พอ แรงดันลมมาตรฐานของยางรถยนต์ทุกรุ่นมีระบุไว้ที่ตัวร ถยนต์หรือคู่มือประจำรถยนต์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 28-32 ปอนด์/ตารางนิ้ว (psi) สำหรับรถยนต์นั่งการวัดแรงดันลมยางต้องกระทำในขณะที่ ยางยังเย็นหรือร้อนไม่มาก (ขับไม่เกิน 2-3 กิโลเมตร) หากเติมและวัดลมตามปั๊มน้ำมันพร้อมเติมน้ำมันก็สะดวก ดี แต่เมื่อยางร้อนแล้วต้องเผื่อแรงดันที่วัดได้เกินจาก มาตรฐานสัก 1-2 ปอนด์/ตารางนิ้ว แล้วดูว่ายางเส้นไหนลมอ่อนมากกว่ายางเส้นอื่นมากหรือ เปล่า หากมีแสดงว่ามีปัญหารั่วซึม ระวังความเพี้ยนของมาตรวัดแรงดันลมตามปั๊มน้ำมันไว้ด ้วย เพราะมักถูกใช้งานหนัก ควรซื้อมาตรวัดแรงดันลมส่วนตัวไว้ และต้องเลือกแบบที่มีมาตรฐานราคาแพงสักหน่อย ปั๊มหรือเครื่องมือเติมลมส่วนตัวมี 2 แบบหลัก คือ แบบเท้าเหยียบ ควรซื้อแบบลูกสูบคู่จะรวดเร็ว และแบบปั๊มไฟฟ้า อาจไม่จำเป็นสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ดูแลรถยนต์ด้วยตั วเอง แต่ควรมีมาตรวัดแรงดันลมส่วนตัว

แรงดันลมแข็งแรงลมอ่อน

แรงดันลมน้อย-ยางอ่อน แก้มยางมีการบิดตัวมากและร้อนง่าย สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น และอัตราเร่งลดลงจากแรงต้านการหมุนที่เพิ่มขึ้นหากยา งอ่อนมากๆ โครงสร้างภายในจะหมดสภาพเร็วขึ้น และมีการสึกหรอบริเวณริมนอกซ้าย-ขวาของหน้ายางมากกว่าแนวกลางแรงดันลมมาก-ยางแข็ง ประสิทธิภาพการเกาะถนนลดลง ถ้ายางแข็งมากๆ เสี่ยงต่อการระเบิด และมีการสึกหรอบริเวณแนวกลางมากกว่าริมนอกซ้าย-ขวา


การเดินทางไกลเติมแรงดันลมเพิ่ม

ควรเติมแรงดันลมยางแข็งกว่าปกติ 2-3 ปอนด์/ตารางนิ้ว เพื่อป้องกันยางร้อนมาก หรือแรงดันลมสูงเกินไปจนระเบิดอาจสวนความคิดที่ว่า เมื่อเดินทางไกลยางหมุนด้วยความเร็วสูงและต่อเนื่อง ยางน่าจะร้อนและมีผลให้แรงดันลมเพิ่มขึ้น จากหลักการของก๊าซเมื่ออากาศร้อนจะขยายตัว-แรงดันลมเพิ่ม และหากเย็นจะหดตัว-แรงดันลมลดลง จึงเสมือนว่าน่าจะลดแรงดันลมลงจากปกติ หากมีการลดแรงดันลมยางลงในการเดินทางไกล ยางกลับจะร้อนและมีแรงดันสูงขึ้นมาก เพราะยางอ่อนแก้มยางจะบิดตัวมากจนร้อน และทำให้แรงดันลมสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว วิธีที่ถูกต้อง คือ เพิ่มแรงดันลมขึ้น 2-3 ปอนด์/ตารางนิ้ว เพื่อป้องกันการบิดตัวของแก้มยางมากจนร้อนและแรงดันล มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นการป้องกันล่วงหน้า เช่น ยางที่มีแรงดันลม 32 ปอนด์/ตารางนิ้ว มากกว่าปกติ 2 ปอนด์/ตารางนิ้ว เมื่อเดินทางไกลอาจมีแรงดันลมเพิ่มขึ้นจากความร้อนเพียง 2 ปอนด์ แต่ถ้าลดแรงดันลมเหลือเพียง 28 ปอนด์/ตารางนิ้ว อาจร้อนมากและมีแรงดันลมเพิ่มขึ้นถึง 5-6 ปอนด์/ตารางนิ้ว รวมแล้วมากกว่าการเติมลมยางเผื่อไว้แข็งและร้อนแล้ว

ยางกับเส้นทางที่ขรุขระ

ลดความเร็วให้เหมาะสม เพื่อลดภาระของหน้ายางและโครงสร้างยาง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยและถนอมช่วงล่างด้วย


น้ำยาเคลือบสวยแต่ต้องระวัง

เป็นเรื่องปกติของคนไทยที่รักสวยรักงาม สำหรับการทาน้ำยาเคลือบแก้มยางเพื่อเพิ่มความสวย มีข้อควรระวังคือ น้ำยาบางชนิดมีฤทธิ์ต่อเนื้อยางของแก้มยาง ทำให้บวม ควรเป็นสารประเภทซิลิโคนจะปลอดภัยที่สุด

เบียดทางเท้าระวังแก้มยาง

การเข้าจอดเลียบทางเท้าหรือทางที่มีขอบสูง ระวังการเบียดของแก้มยางทั้งในขณะจอด หรือจอดเบียดแก้มยางทิ้งไว้ เพราะจะทำให้แก้มยางบวมหรือรั่ว ซึ่งไม่สามารถซ่อมแก้มยางให้ใกล้เคียงปกติเหมือนหน้า ยางรั่วได้ในการเข้าจอดเลียบทางเท้า ถ้าไม่มั่นใจว่าจะเบียดแก้มยางหรือเปล่า ควรชะลอให้ช้าที่สุด และอย่าจอดเบียดแก้มยางทิ้งไว้ ควรจอดให้แก้มยางไม่เบียดอะไรเลย

การสลับยางจำเป็นไหม

ทุก 10,000 กิโลเมตร สลับยางพร้อมกระทะล้อหน้า-หลังในแต่ละด้าน เพื่อให้มีการสึกหรอจนหมดใกล้เคียงกันทั้ง 4 เส้น เพราะยางที่ใส่กับล้อคู่ขับเคลื่อน จะมีการสึกหรอมากกว่ายางอีกคู่หนึ่ง อย่าลืมดูทิศทางการหมุนและถ่วงสมดุลใหม่ด้วยถ้าไม่สลับยางแล้วมีการสึกหรอไม่เท่ากัน หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนยางครั้งละคู่หรือ 2 ล้อ เพราะจะทำให้ต้องเปลี่ยนสลับครั้งละคู่ไปเรื่อยๆ เสียเวลาและไม่ถูกต้อง ยางต้องเปลี่ยนพร้อมกันทั้ง 4 เส้น เพราะมีอายุการใช้งานเท่ากันทุกเส้น ควรเปลี่ยนยางพร้อมกันทั้ง 4 เส้น และอย่าใช้ยางต่างรุ่นต่างดอกกันในล้อข้างซ้ายและขวา ในคู่เดียวกัน เพราะประสิทธิภาพการเกาะถนนจะแย่ลง ควรใช้ยางขนาดเดียวและรุ่นเดียวกันทั้ง 4 ล้อ ไม่มีความจำเป็นต้องเลียนแบบรถแข่งที่ใช้ยางหน้ากว้างกว่าในล้อขับเคลื่อน

หมั่นตรวจสอบการสึกหรอของดอกยาง


นอกจากตรวจสอบความลึกของดอกยางและสลับตามระยะ ยังต้องสังเกตการสึกหรอที่ผิดปกติตลอดหน้ายาง ซึ่งมีหลายลักษณะยางต้องมีการสึกหรอสม่ำเสมอใกล้เคีย งกันตลอดหน้ายางซ้ายจรดขวา หากมีการสึกหรอของดอกยางผิดปกติ ควรตรวจสอบและตั้งศูนย์ล้อใหม่

อย่าจอดรถทิ้งไว้นาน

รถยนต์ที่จอดนิ่งอยู่กับที่ น้ำหนักของตัวรถยนต์ทั้งหมดจะตกสู่ยางแต่ละเส้นในจุด เดียว โครงสร้างภายในและแก้มยางจะมีการยึดตัวและเสียความยื ดหยุ่นลงไป ยิ่งจอดนิ่งนาน โครงสร้างของยางยิ่งมีโอกาสเสียง่ายขึ้น ถ้าต้องจอดนานมาก ทุก 1 สัปดาห์ควรสตาร์ทเครื่องยนต์ และนำรถยนต์ออกไปแล่นอย่างน้อย 2-3 กิโลเมตร หรือเดินหน้าถอยหลัง 5-10 เมตรหลายๆ ครั้ง เพื่อให้แก้มและโครงสร้างของยางมีการขยับตัว ทำให้ระบบช่วงล่างและเบรกมีการใช้งานด้วย


No comments:

Post a Comment